วันจันทร์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2558

เนื่อหา

   คำถาม ทำไมคนเราถึงไม่เก็บขยะและทำไมถึงทิ้งไม่เป็นที่เป็นทาง

มีวิธีการอย่างไรให้คนในสังคมช่วยกันเก็บขยะรักษาความสะอาดได้?
        มี 2 อย่างคือ
        1. การปลูกจิตสำนึกให้เห็นความสำคัญของการเก็บขยะ ความสะอาด ความมีระเบียบเรียบร้อย
        2. มาตรการรองรับ คือถ้าเราปลูกจิตสำนึก มีการกระตุ้นเชียร์แต่ขาดมาตรการการรองรับ มันจะ

ได้ผลไม่เต็มที่ แต่ถ้ามีมาตรการแต่ขาดการปลูกจิตสำนึก ก็จะกลายเป็นการบังคับให้ทำนั่นทำนี่
        ถ้ามีทั้ง 2 อย่างคู่กัน คือ มีการปลูกฝังจิตสำนึกในการเปิดใจให้เขาเห็นว่า ความสะอาดจำเป็นและสำคัญอย่างไร ทำไมเราจะต้องทำความสะอาดให้ได้ ขณะเดียวกันก็มีมาตรการมารองรับด้วย อย่างนี้ผลจะเกิดขึ้นได้เต็มที่ ฉะนั้นให้สำรวจดูใน 2 ประเด็นนี้ว่า การปลูกจิตสำนึกของเราเองเต็มที่หรือไม่ และมาตรการการรองรับของเราเช่นว่า สถานที่ทิ้งขยะ การเก็บขยะจากครัวเรือนออกมาจะเป็นอย่างไร หรือในที่สาธารณะจะเป็นอย่างไร
        อาตมาก็เคยเจอ ตอนเข้ามากรุงเทพฯ ใหม่ๆ หาที่ทิ้งขยะไม่ได้ ก็ต้องเก็บเศษขยะนั้นใส่กระเป๋าไว้พอเจอถังขยะค่อยเอาออกมาทิ้ง ถ้าทุกคนช่วยกันอย่างนี้บ้านเมืองเราก็สะอาด สิ่งนี้มาจากการปลูกฝังจิตสำนึกตั้งแต่สมัยเรียนอยู่ชั้นประถม คุณครูท่านได้ปลูกฝังไว้ให้ตั้งแต่เด็ก ท่านใช้ 2 อย่างคือ ให้เห็นความสำคัญของเรื่องความสะอาด และมีมาตรการรองรับจูงใจ โดยมีคะแนนให้ เก็บเต็ม 1 ถัง ให้ 100 คะแนน เด็กนักเรียนก็เก็บกันใหญ่เพราะรู้สึกว่าได้คะแนนมาก เก็บจนไม่มีขยะให้เก็บเป็นผลให้โรงเรียนมีแต่ความสะอาดสะอ้าน พอเราถูกปลูกฝังนิสัยแบบนี้ตั้งแต่เด็กเรื่อยมาจนโต จะให้มาทิ้งขยะในที่ๆ ไม่ควรทิ้งก็ทำไม่ได้ ถ้าทำแล้วมันจะฝืนใจมากเลยรู้สึกผิดและมีความทุกข์มาก จึงต้องหาทางเก็บขยะไว้กับตัวจนกว่าจะพบเจอถังขยะแล้วค่อยทิ้ง
        นี้คือการปลูกฝังตั้งแต่ยังเยาว์วัย จะลงลึกเลย เปิดใจให้ได้ แล้วมีมาตรการรองรับ บางคนสงสัยว่าถ้าโตจนป่านนี้แล้วจะทันไหม ขอให้ตั้งใจจริงก็ทันทุกเวลา ให้ชุมชนทุกแห่งไม่ว่าจะเป็นหมู่บ้าน ตำบล อบต. วัด โรงเรียน ขอให้ใครก็ได้มีแกนนำขึ้นมา แล้วชักชวนคนในละแวกบ้านเราเองมาช่วยกันทำ ให้เริ่มต้นจากคนใกล้ตัวเราก่อน คนในครอบครัวแล้วขยายไปสู่เพื่อนบ้าน ขยายออกไปเรื่อยๆ แล้วชุมชนเราก็จะสะอาดเอง
        ในวัดของเราเอง หลวงพ่อฯ คุณยายฯ ท่านปลูกฝังไว้ดี เดินไปถ้าเห็นขยะเราต้องหยุดเก็บ แม้บางครั้งขับรถอยู่ถ้าไม่รีบมากเห็นขยะปลิวลอยมาก็ต้องจอดรถลงไปเก็บก่อน เพราะทนไม่ได้ที่จะเห็นขยะลอยไปลอยมาในวัดของเรา คุณยายหลวงพ่อท่านปลูกฝังมาอย่างนี้ ความสะอาดจึงเกิดขึ้น ดังนั้นถ้าในบ้านแต่ละหลังสะอาดแล้วละก็ 1.) คนที่จะเติมขยะในชุมชนจะลดลงไป 1 ครอบครัว 2.) จะกลายเป็นว่ามีคนมาช่วยดูแลความสะอาดของชุมชนเพิ่มขึ้นอีก 1 ครอบครัว ถ้าเริ่มอย่างนี้แล้วชุมชนก็จะสะอาด โรงเรียน วัด และทั้งประเทศเราก็จะสะอาด โลกก็สะอาดด้วย

การรักษาความสะอาดที่เรียกว่าเก็บเพชรพลอยของวัดพระธรรมกาย ทำไมไม่ขยายไปสู่สังคมวงกว้าง?

        ก็พยายามขยายอยู่ แต่ว่าจะไปทำเป็นคำสั่งไม่ได้ ก็ต้องทำวัดให้สะอาด พอญาติโยมมาวัดก็สอนให้เขารักษาความสะอาด พอกลับไปถึงบ้านตัวเองก็จะทำความสะอาดบ้าน ทำชุมชนให้สะอาด ซึ่งถ้าดูตัวอย่างจากที่วัดเราจะเห็นชัดเลยว่า ตามวัดวาอารามต่างๆ ในยุคนี้จะดูสะอาดกว่าที่ผ่านมา เกิดจากการปลูกฝังจิตสำนึกของพระในโครงการพระธุดงค์ แล้วท่านนำกลับไปพัฒนาวัดในถิ่นฐานบ้านเดิมของท่าน ซึ่งเป็นความภูมิใจเล็กๆ ว่าเราได้เป็นส่วนหนึ่งในการปลูกฝังจิตสำนึกแบบนี้
        พระเดชพระคุณหลวงพ่อ และคุณยายฯ ท่านปูลกฝังไว้ดีมากว่า คำว่า ขยะ ท่านก็เปลี่ยนมาเป็น เพชรพลอย และมีลำนำเพลงปลุกกระแสด้วย เก็บขยะมูลฝอย เหมือนเก็บเพชรพลอยด้วยมือน้อยๆ ของเรา ให้เห็นถึงบุญกุศลต่างๆ อย่างนี้เป็นต้น พอเห็นอย่างนี้แล้วความรู้สึกในใจของคนมันก็เปลี่ยนเลย และถ้ายิ่งรู้ว่าอานิสงส์คุณค่าของบุญที่มันเกิดขึ้น ว่าการที่เราเองรักษาความสะอาดจะเกิดอานิสงส์ผลบุญอย่างไร คนก็ยิ่งมีใจที่จะรักษาความสะอาดมากขึ้น อย่างคนที่มีไฝ กระ ฝ้า เยอะๆ เกิดขึ้นเพราะเคยไปทิ้งขยะไว้ในวัดวาอาราม ฉะนั้นถ้าเราอยากมีผิวพรรณที่เนียนสวยสดใสไร้ตำหนิก็ต้องเก็บขยะ ยิ่งถ้าใครรู้สึกว่าผิวพรรณตัวเองไม่ค่อยจะสดใสเท่าที่ควร ไม่ต้องไปลอกหน้าที่ไหนเลย ให้ไปเก็บกวาดวัดช่วยทำความสะอาดวัดแล้วผิวพรรณวรรณะเราจะผ่องใสเอง โรคผิวหนังทั้งหลายจะหายตั้งแต่ชาตินี้เป็นต้นไปเลย ไม่ต้องรอชาติหน้าด้วย และยิ่งในชาติต่อไปเกิดมาผิวจะยิ่งสดใสเปล่งปลั่งเป็นประกายเลย และมาตรการการรองรับ เรื่องถุงเก็บขยะเก็บเพชรพลอยนี้ก็ต้องตามมาด้วย ค่อยๆ พัฒนาให้สมบูรณ์ขึ้นๆ แล้วจะเห็นว่าใจเราจะสบาย ร่างกายก็แข็งแรง ทุกสิ่งที่ดีๆ ก็จะเกิดขึ้น
        แม้แต่สิ่งที่น่ารังเกียจมากกว่าขยะ อย่างเช่นโถส้วม คุณยายอาจารย์ของเรานั้นเป็นแบบอย่างที่ดีมาก ท่านให้สโลแกนว่า ยิ่งล้วงยิ่งลึก ยิ่งลึกยิ่งใส ยิ่งใสยิ่งสว่าง คือล้วงคอห่านต้องล้วงลึกๆ ขัดให้สะอาดเรียบแล้วจะสบายใจ คุณยายท่านเริ่มเป็นแบบอย่างตั้งแต่สมัยอยู่บ้านธรรมประสิทธิ์ ห้องน้ำคุณยายนั้นจะแห้งตลอด และทุกสิ่งทุกอย่างในบ้านธรรมประสิทธิ์นั้นสะอาดเอี่ยมหมดทุกซอกทุกมุม ทุกคนรู้ว่าความสะอาดนั้นเป็นสิ่งจำเป็น ถ้าข้างนอกคุณยังสกปรกอยู่ แล้วคุณจะมานั่งสมาธิ(Meditation)ให้ใจสะอาดเข้าถึงธรรมนั้นก็เป็นไปได้ยาก
ขยะที่ทิ้งแล้วเราสามารถนำมาแปรรูป เพื่อใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างอื่นได้หรือไม่?
        ต้องบอกว่าขยะนั้นเป็นเงินเป็นทองทีเดียว ดูง่ายๆ ทุกที่ๆ มีขยะก็จะมีคนไปเก็บขุดคุ้นนำสิ่งต่างๆ มาไปแยกขาย และมีโรงงานรับซื้อขยะโดยเฉพาะ ทำเงินถ้ารวมทั้งประเทศปีหนึ่งก็ประมาณเป็นหมื่นๆ ล้าน มูลค่ามหาศาล ถ้าเราเองเก็บขยะแล้วแยกประเภทไว้เวลาขายก็จะขายได้ราคา
        ถ้าทั้งสังคมช่วยกัน ผลคือทำให้ขยะมีมูลค่ามาก และสามารถลดปัญหาที่ทิ้งขยะลงได้มากด้วยเช่นกัน ในญี่ปุ่นเขาเจอปัญหามาก่อนเรา ประชากรเขา 127 ล้านคนทั้งประเทศ แต่พื้นที่เล็กกว่าประเทศไทยประมาณ 3 ใน 4 ดังนั้นประชากรเขาหนาแน่นกว่าเรามาก ขยะแต่ละวันต้องใช้พื้นที่มหาศาลในการทิ้ง เป็นเรื่องใหญ่มากเลย ฉะนั้นการแยกประเภทขยะและเอาไปรีไซเคิลใช้ มันช่วยลดพื้นที่ในการทิ้งขยะและช่วยได้มาก เป็นการประหยัดทรัพยากรของโลกด้วย
ในประเทศไทยเราควรมีระบบการจัดการเกี่ยวกับขยะอย่างไรบ้าง?
        ถ้าโดยรวมถือว่าเราค่อยๆ ดีขึ้น เมื่อเทียบวันนี้กับ 30-40 ปีที่แล้ว ไม่เฉพาะในวัด แม่ในชุมชนโดยรวม ถือว่าพวกเรารักความสะอาดมากขึ้นกว่าเดิม แต่ก็ไม่ควรพอใจแค่นี้ เพราะเรายังมีจุดที่ต้องปรับปรุงจริงๆ อีกมาก บางที่เห็นผ่านมาแล้วก็รู้สึกอึดอัด พอมีขยะอยู่แล้วก็เหมือนเป็นแรงดึงดูดให้ทิ้งกันมากขึ้น แต่ถ้าที่ไหนมันสะอาดเอี่ยมพอเราจะทิ้งก็รู้สึกเกรงใจไม่กล้าทิ้ง
        คือต้องปลูกฝังตรงนี้ขึ้นมา จะทำให้มีข้อคิดและเสริมมาตรการการรองรับขึ้นมา นอกจากจิตสำนึกแล้วเราจะเห็นว่าในโรงงานญี่ปุ่นไม่น้อยเลย เช่นโรงงานประกอบรถยนต์เขาให้คนงานใส่ชุดขาวทั้งชุด ซึ่งมันขัดกับความรู้สึกนะ เพราะทำงานในโรงงานอย่างนี้มีโอกาสเปรอะเปื้อนน้ำมัน หรือสารอะไรต่างๆ แต่ฝ่ายบริหารระดับสูงระบุลงมาเลยว่ายูนิฟอร์มนั้นต้องเป็นชุดขาวทั้งชุด เลอะนิดเดียวก็เห็นชัดเจนแล้วทุกคนจะระมัดระวัง และช่วยกันดูแลความสะอาด พอเข้าไปโรงงานเขานั้นพื้นแทบจะนอนได้เลย สะอาดกว่าออฟฟิศทั่วไปอีก พอเป็นอย่างนี้เขาบอกว่า รถยนต์ที่เขาผลิตขึ้นมานั้นคุณภาพดี เพราะทุกคนใส่ใจในทุกรายละเอียด
        ตรงนี้ฝากไว้เลยว่า ท่านใดถ้าหากมีส่วนเกี่ยวข้องกับการก่อสร้าง จะเป็นบริษัทรับเหมาก่อสร้างก็ตาม หรือไปจ้างบริษัทรับเหมามาก็ตาม ให้ไปดูที่บ้านพักคนงานว่าเป็นอย่างไร ถ้าเห็นเป็นระบบที่ไม่ลงตัว ขยะก็ทิ้งกลื่นกลาดไปหมด ถ้าเป็นอย่างนี้ให้รู้ไว้เลยว่า ผลงานก่อสร้างไม่มีทางเป็นไปได้ดี เพราะคนงานเขาคุ้นกับความสกปรก คุ้นกับของหยาบๆ กินนอนอยู่อย่างนั้น ฉะนั้นมาตรฐานในการก่อสร้างคือมาตรฐานที่เขากินนอนอยู่อย่างนั้น ถ้าอยากให้มันดีให้ไปดูถึงบ้านที่นอนของคนงานด้วย ต้องให้สะอาดและเป็นระเบียบเรียบร้อย เรายอมลงทุนตรงนี้นิดหนึ่งแล้วคุณภาพจะดีขึ้น
        ตอนนี้เห็นหลายๆ บริษัทเริ่มจับหลักได้แล้ว ถึงคราวไปทำแคมป์คนงาน บ้านพักคนงานจะไม่ใช่แค่ว่าปุๆ ปะๆ แบบเก่า มีการดูแลความเป็นระบบระเบียบความสะอาดดีพอสมควร ถ้าได้อย่างนี้คุณภาพงานจึงจะมีสิทธิ์ได้ดี งานทุกประเภทเลยถ้าใครเป็นเจ้าของกิจการ ถ้าออฟฟิศเราสะอาดเป็นระเบียบเรียบร้อย และปลูกฝังเจ้าหน้าที่ได้อย่างนี้ผลงานเราจะดี อานุภาพความสะอาดจะส่งผลต่อผลงานอย่างมหาศาล ฉะนั้นเราทุกคนจึงควรต้องทราบความสำคัญของเรื่องนี้ เริ่มทำจากตัวของเราก่อน ที่ทำงาน บ้าน แล้วขยายวงกว้างไปสู่จุดที่เราทำได้ แม้เราไม่ใช่เจ้าของบริษัทเราก็ปลุกกระแสการทำความสะอาด รับรองเจ้าของบริษัทจะมีแต่ชอบไม่มีใครรังเกียจความสะอาดหรอก เขาเห็นประโยชน์กันทั้งนั้น เริ่มรณรงค์จากระดับล่างขึ้นมาก็ได้ เราจะกลายเป็นคนที่มีคุณค่าและมีคุณภาพ สิ่งดีๆ จะเกิดขึ้นมากมาย
ที่มา http://www.dmc.tv/pages




การดำเนินงานเพื่อจัดการขยะมูลฝอยที่ผ่านมา ท้องถิ่นส่วนใหญ่สามารถให้บริการเก็บรวบรวมขยะมูลฝอยได้มากขึ้น ทำให้ปัญหาขยะตกค้างน้อยลง แต่ยังมีปัญหากำจัดขยะมูลฝอยไม่ถูกสุขลักษณะอยู่มากตกค้างน้อยลง แต่ยังมีปัญหากำจัดขยะมูลฝอยไม่ถูกสุขลักษณะอยู่มาก แม้จะมีการจัดสรรงบประมาณ เพื่อก่อสร้างระบบกำจัดที่ถูกสุขลักษณะมากขึ้น แต่ยังมีหลายพื้นที่ที่ยังไม่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณ และยังมีท้องถิ่นหลายแห่งที่มีระบบแล้วก็ไม่สามารถกำจัดขยะมูลฝอยได้ถูกสุขลักษณะตามที่ได้ออกแบบไว้ได้ และบางแห่งได้รับการต่อต้านคัดค้านจากประชาชนจนไม่สามารถเข้าใช้พื้นที่ได้
ทั้งนี้เนื่องจากการทำโครงการที่ผ่านมามักไม่ได้คำนึงถึงการเตรียมพร้อมที่จะดำเนินงานดูแลรักษาระบบอย่างต่อเนื่องทำให้มีข้อจำกัดทางด้านบุคลากรและองค์กรบริหารจัดการที่ชัดเจน นอกจากนี้การดำเนินงานที่ผ่านมา ส่วนใหญ่มีลักษณะต่างคนต่างทำ ทำให้มีสถานที่กำจัดมูลฝอยที่ไม่ถูกสุขลักษณะขนาดต่าง ๆ กันกระจายทั่วไป ทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจของประเทศ มีผลทำให้การจัดสรรงบประมาณจากส่วนกลางมีจำกัดและไม่ต่อเนื่องซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการจัดการขยะมูลฝอย

จากการศึกษาความเป็นไปได้ของการจัดตั้งศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยในหลาย ๆ พื้นที่ของประเทศ ได้ข้อสรุปว่า รูปแบบศูนย์การจัดการขยะมูลฝอยชุมชน เป็นแนวทางหนึ่งในการจัดการขยะมูลฝอยที่จะแก้ไขสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น โดยเป็นการมุ่งเน้นให้ชุมชนที่อยู่ใกล้เคียงกันนำขยะมูลฝอยมากำจัดร่วมกัน ซึ่งแนวทางนี้จะช่วยแก้ไขปัญหาได้ในระยะยาว และเพื่อเป็นการลดภาระของรัฐบาลด้านการลงทุนและการบริหารจัดการ อีกทั้งสนับสนุนให้ภาคเอกชนเข้ามามีบทบาทร่วมลงทุนและดำเนินการ โดยรูปแบบการลงทุนและดำเนินการศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยอาจทำได้หลายวิธี อาทิ เอกชนเป็นผู้ลงทุนและดำเนินการเองทั้งหมด รัฐร่วมลงทุนกับภาคเอกชน รัฐลงทุนการก่อสร้างระบบและให้เอกชนดำเนินการ เป็นต้น

อย่างไรก็ตามการดำเนินการจัดการขยะมูลฝอยร่วมกันต้องอาศัยความร่วมมือจากหน่วยงานต่าง ๆ ดังนั้นจำเป็นต้องกำหนดแนวทางและทิศทางในการดำเนินงานและการจัดสรรงบประมาณโดยใช้รูปแบบศูนย์กำจัดขยะมูลฝอย ร่วมกันเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมในโอกาสต่อไป และเป็นการแก้ไขปัญหาผลกระทบอันเนื่องจากการจัดการขยะในระยะยาวอย่างมีประสิทธิภาพ และถูกหลักสุขาภิบาล สามารถช่วยแก้ไขปัญหาการขาดแคลนสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยของชุมชนต่าง ๆ โดยเฉพาะชุมชนขนาดเล็ก และยังประหยัดงบประมาณ บุคลากร พื้นที่ในการทำจัดขยะมูลฝอย ทั้งนี้เพื่อคุณภาพชีวิตและสุขนามัยของประชาชน

การจัดการขยะมูลฝอยชุมชนอย่างครบวงจรคู่มือสำหรับผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนี้ จะประกอบด้วยหลักเกณฑ์การพิจารณาระบบการจัดการขยะมูลฝอยครบวงจรตั้งแต่ระบบการเก็บรวบรวม การคัดแยก การนำกลับไปใช้ประโยชน์ และรูปแบบศูนย์กำจัดขยะมูลฝอย แนวทางของการจัดการขยะมูลฝอยโดยรูปแบบศูนย์กำจัดรวมนั้น ผู้บริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ควรพิจารณารูปแบบของการจัดการขยะมูลฝอยอย่างครบวงจร เพื่อดำเนินการจัดการในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบโดยเริ่มจากการสำรวจข้อมูลปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นจากแหล่งกำเนิดต่าง ๆ และการคาดการณ์ในอนาคต ตลอดจนสัดส่วนหรือลักษณะองค์ประกอบของขยะมูลฝอยทางด้านกายภาพ เคมีและอื่น ๆ โดยข้อมูลเหล่านี้ นำไปใช้ในการวางแผนและออกแบบระบบการจัดการขยะมูลฝอยที่สามารถรับได้ในระยะเวลา 20 ปี ตั้งแต่ขั้นตอนการคัดแยกการเก็บรวบรวม การขนส่ง การนำไปใช้ประโยชน์และการกำจัด โดยคำนึงถึงเทคโนโลยีที่มีความเหมาะสม รวมทั้งการคัดเลือกพื้นที่ รูปแบบของการบริหารจัดการ และการมาตรการลดปริมาณขยะมูลฝอย โดยจัดให้มีการรณรงค์และนำระบบการนำวัสดุกลับคืนมาใช้ให้มากขึ้น พร้อมทั้งพิจารณาค่าลงทุนและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานด้านต่าง ๆ อย่างครบถ้วนตลอดอายุโครงการ  ที่มา  http://www.pcd.go.th/info_serv/waste_garbage.html





ขยะหรือของเสีย แบ่งเป็น มูลฝอยธรรมดาทั่วไป ได้แก่ มูลฝอยสด
เศษอาหาร กระดาษ โฟม พลาสติก ขวด แก้ว โลหะ ฯลฯ และ
ของเสียอันตราย ได้แก่ มูลฝอยติดเชื้อจากโรงพยาบาล กาก
สารเคมี สารเคมีกำจัดแมลง กากน้ำมัน หลอดฟลูออเรสเซนต์
แบตเตอรี่ใช้แล้ว แหล่งกำเนิดของเสียที่สำคัญ ได้แก่ ชุมชน
โรงงานอุตสาหกรรมและพื้นที่เกษตรกรรม
ผลกระทบที่เกิดจากขยะมูลฝอย
ทุกวันนี้คนไทยกว่า 60 ล้านคน  สามารถสร้างขยะได้มากถึง 14 
ล้านตันต่อปี  แต่ความสามารถ ในการจัดเก็บขยะกลับมีไม่ถึง
70 % ของขยะที่เกิดขึ้น จึงทำให้เกิดปริมาณมูลฝอยตกค้างตาม
สถานที่ต่างๆหรือมีการนำไปกำจัดโดยวิธีกองบนพื้นซึ่งไม่ถูก
ต้องตามหลักสุขาภิบาลก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม คือ
1. อากาศเสีย เกิดจากการเผามูลฝอยกลางแจ้งทำให้เกิด
ควันและสารมลพิษทางอากาศ
2. น้ำเสีย  เกิดจากการกองมูลฝอยที่ตกค้างบนพื้น  เมื่อฝนตกจะ
เกิดน้ำเสียซึ่งไหลลงสู่แม่น้ำทำให้เกิด ภาวะมลพิษทางน้ำ
3.  แหล่งพาหะนำโรค จากมูลฝอยตกค้างบนพื้นจะเป็นแหล่ง
เพาะพันธุ์ของหนูและแมลงวัน ซึ่งเป็นพาหะนำโรคติดต่อทำ
ให้มีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน
4. เหตุรำคาญและความไม่น่าดู จากการเก็บขยะมูลฝอยไม่
หมดทำให้เกิดกลิ่นเหม็นรบกวน
การแก้ปัญหาขยะมูลฝอย
1.  ก่อนจะทิ้งขยะ หยุดคิดสักนิดว่าเราจะสามารถลด
ปริมาณขยะและนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ได้ไหมมีแนวคิด
อยู่ 7R คือ
"        REFUSE  การปฏิเสธหรือหลีกเลี่ยงสิ่งของหรือบรรจุภัณฑ์
ที่จะสร้างปัญหาขยะรวมทั้งเป็นมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม เช่น
กล่องโฟม หรือ ขยะมีพิษอื่น ๆ
"        REFILL การเลือกใช้สินค้าชนิดเติมซึ่งใช้บรรจุภัณฑ์น้อย
ชิ้นกว่า ขยะก็น้อยกว่าด้วย
"        RETURN การเลือกใช้สินค้าที่สามารถส่งคืนบรรจุภัณฑ์
กลับสู่ผู้ผลิตได้ เช่น ขวดเครื่องดื่มประเภทต่าง ๆ
"        REPAIR การซ่อมแซมเครื่องใช้ ให้สามารถใช้ประโยชน์
ได้ต่อไป ไม่ให้กลายเป็นขยะ
"        REUSE การนำบรรจุภัณฑ์ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ เช่น
ใช้ถุง ผ้าไปช็อปปิ้งแทนถุงก๊อบแก๊บ
"        RECYCLE การแยกขยะที่ยังใช้ประโยชน์ได้ให้ง่ายต่อ
การจัดเก็บและส่งแปรรูป เช่น บรรจุภัณฑ์ พลาสติก แก้ว
กระป๋องเครื่องดื่มต่าง ๆ
"        REDUCE การลดการบริโภคและหาทางเพิ่มประสิทธ
ิภาพการใช้งานของสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ
2. ทิ้งขยะในที่ที่จัดไว้ให้
3. ควรมีการคัดแยกขยะและแยกทิ้งลงในถังรอง
ที่มา  http://student.nu.ac.th/teerapat/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%885.html

วันอังคารที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2557

การวางแผน

การวางแผน


1.สมาชิกในกลุ่มร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับการทิ้งขยะไม่เป็นที่ ว่าควรมีหัวข้ออะไร้บ้างและแต่ละข้อควรไปหาจากแหล่งไหน
2.ให้สมาชิกในกลุ่มแบ่งกันไปหาข้อมูล
3.ไปหาข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆ
4.ให้สมาชิกไปสอบถามคุณครูที่สอนว่าได้หรือยัง
5.รวบรวมข้อมูลที่ได้และนำเสนอ





1.ขยะคือ


ขยะคือสิ่งต่าง ๆ ที่ผู้คนไม่ต้องการ และทิ้งมันไป ขยะมีมากมายหลายรูปแบบ ทั้งที่เป็นของแข็ง ของเหลว ขยะที่ย่อยสลายได้และที่ย่อยสลายไม่ได้ ของที่ใช้ประโยชน์ได้และที่ใช้ประโยชน์ไม่ได้ และขยะมีพิษต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมถ้าหากว่ามีการจัดการกำจัดที่ไม่ถูกต้อง

วันอังคารที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

การตั้งสมมุติฐาน


1.คาดว่าพรุ่งนี้ขยะจะหมดโลกและคาดว่าประเทศไทยจะไม่มีขยะตลอดไปและคาดว่าทุกคนจะทิ้งขยะเป็นที่และคาดว่าทุกคนจะช่วยกันเก็บขยะและคาดว่าทุกคนร่วมกันช่วยลดขยะ

วันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557


 การตั้งคำถาม


1. ทำไมคนเราถึงไม่เก็บขยะและทำไมถึงทิ้งไม่เป็นทีเป็นทาง


2.ทำไมขยะถึงเยอะ


3.ทำไมขยะมีอยู่ในน้ำ


  เลื่อกคำถามข้อ 1 เหตุผลที่เลื่อกเพราะ    มีคำตอบครอบคุมเยอะ

วันจันทร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ปัญหาต่างๆ



ปัญหาโลกร้อน





1.ทำไมโลกถึงร้อน
2.ทำไมคนถึงทิ้งขยะ
3.ทำไมคนถึงไม่รักษาโลก
4.ทำไมคนถึงไม่เก็บขยะ
5.ทำไมคนถึงไม่แยกขยะ




ปัญหาวัยรุ่นทะเลาะวิวาท




1.ทำไมนักเรียนอาชีวะต้องยกพวกตีกัน
2.ทำไมทุกคนไม่ห้าม
3.ทำไมตำรวจจึงไม่ตั้งข้อหาหนัก
4.ทำไมพ่อแม่ไม่ห้าม
5.ทำไมครูไม่เข้ม




วันจันทร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ประวัติสมากชิกในกลุ่ม

สมากชิกในกลุ่ม มีดังนี้


1 . เด็กชายเกียรติศักดิ์   ชุมจินดา ม.2/4   เลขที่ 36 ชื่อเล่น เคน สัญชาติ ไทย ศาสนา พุทธ
เกิดเมื่อ 18 มีนาคม พ.ศ. 2542  ที่อยู่ 45/5 ม.6 ต. นางหลง อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช
บิดา ชื่อ นายจำนงค์ ชุมจินดา อาชีพ ทำสวน
มารดา ชื่อ นางสุนิสา ชุมจินดา อาชีพ ทำสวน


2. เด็กชายจักรณรงค์   แกล้วทนงค์ ม.2/4 เลขที่ 2 ชื่อเล่น กัด สัญชาติ ไทย ศาสนา พุทธ                 เกิดเมื่อ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2543 ที่อยู่ 275 ม.6 ต.ควนหนองหงษ์ อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช           บิดา ชื่อ นาย สีพัฒ แกล้วทนงค์ อาชีพ ทำสวน
            มารด ชื่อ นาง หนูพิน  แกล้วทนงค์ อาชีพ ทำสวน